เทคนิคกระตุ้น “นมแม่” March 5, 2019 171 0 0 ✔️ดูดบ่อย ให้ลูกดูดจากเต้าบ่อยๆ เท่าที่ทำได้ หรือปั๊มนมจากเต้าอย่างน้อย 8 ครั้งใน 24 ชั่วโมง ส่วนคุณแม่ที่ทำงานนอกบ้าน ก็ปั๊มนมเก็บได้ที่ทำงาน แค่เตรียมพร้อมและจัดเก็บเอาไว้ ✔️ใช้ตัวช่วย หากคุณเข้าใจและลองทำดู จะรู้ว่าเคล็ดลับที่ทำให้คุณมีน้ำนม คือ การกินอาหารที่มีส่วนกระตุ้นให้เกิดน้ำนม เช่น อาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม หรือผักผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง (แครอท แอปเปิ้ล ขิง) เพื่อกระตุ้นการผลิตน้ำนม ของคุณแม่ ลูกน้อยเอง ก็ได้รับสารอาหารมีประโยชน์ไปด้วย ✔️ยืดหยุ่น อย่ากดดันตัวเองจนเกินไป เมื่อทำแล้วไม่เกิดผลทันที ก็ค่อยๆ ปรับหรือลองวิธีอื่นๆ ต้องยืดหยุ่นได้ทุกสถานการณ์ ✔️ความสำเร็จแค่เอื้อม ขอแค่คุณอย่ากังวลกับปัญหาและอุปสรรค เพราะความกังวลใจ ความกดดัน ความเครียดต่างๆ จะฉุดรั้งสิ่งที่คุณกำลังทำ ขัดขวางการผลิตอาหารสุขภาพลูกน้อย
น้ำนมแม่มาจากไหน? March 4, 2019 232 0 0 —น้ำนมแม่ถูกสร้างขึ้นตอนไหน? สร้างตั้งแต่เมื่อไหร่? ทำไมบางคนถึงไม่มีน้ำนมให้ลูก? ถ้าเรารู้ขั้นตอนการผลิตน้ำนมแม่ในตัวคุณแม่เอง เราจะไขปริศนาเรื่องนมแม่ได้ แล้วจะรู้ว่าให้นมแม่ไม่ยากอย่างที่คิด— ✔ เริ่มต้นการผลิต น้ำนมแม่ นับเป็นอาหารมหัศจรรย์สำหรับลูกน้อย ไม่มีอาหารใดสำหรับลูกวัยแรกเกิด – 1ปีแรก จะมีประโยชน์เท่ากับน้ำนมแม่ ซึ่งกระบวนการผลิตน้ำนมนั้น จะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ✔ ช่วงที่1 (Lactogensis І ) เริ่มตั้งแต่คุณแม่ตั้งครรภ์ได้ประมาณ 16-22 สัปดาห์ ร่างกายเริ่มผลิตหัวน้ำนมแต่ยังมีปริมาณเพียงนิดเดียวเท่านั้น (ในคุณแม่บางท่านเมื่อครรภ์แก่ อาจจะมีน้ำนมไหลออกมาบ้าง ก็เกิดจากสาเหตุนี้นั่นเอง) ✔ ช่วงที่2 (Lactogensis П ) ประมาณ 30-40 ชั่วโมง หลังจากคลอดลูกน้อยเรียบร้อยแล้วฮอร์โมนต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการสร้างน้ำนม จะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างน้ำนมในปริมาณที่เพิ่มขึ้น ซึ่งในช่วงนี้คุณแม่ส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าน้ำนมมาแล้ว เพราะยังไม่มีอาการคัด จนกระทั่ง50-73ชั่วโมง (2-3วัน)หลังคลอด จึงค่อยรู้สึกว่ามีน้ำนมมา ในกระบวนการผลิตน้ำนมของร่างกาย ทั้ง 2 ช่วงนี้ ถึงแม้ว่าลูกจะไม่ได้ดูดนม ร่างกายจะทำการผลิตน้ำนมโดยธรรมชาติ เพราะเป็นกระบวนการผลิตน้ำนมที่เกิดจากการทำงานของฮอร์โมน ✔ ช่วงที่3 (Lactogensis Ш ) ช่วงนี้เป็นช่วงสำคัญที่สุด ว่าคุณแม่จะมีน้ำนมให้ลูกกินไปตลอดหรือไม่ เพราะกระบวนการผลิตน้ำนมไม่ได้ขึ้นอยู่กับฮอร์โมนล้วนๆอีกต่อไป แล้วน้ำนมแม่จะผลิตออกมาอย่างต่อเนื่อง
‘นมเต้า’ คือ อาหารที่ดีที่สุดของลูก March 4, 2019 191 0 0 การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับ ‘ความตั้งใจ’ ของคุณแม่เป็นสำคัญ…หากคุณแม่แน่วแน่และมุ่งมั่นจริงจัง รับรองว่าภารกิจของความเป็นแม่ครั้งนี้ผ่านได้แน่นอน เพราะเป้าหมายสูงสุดก็คือ ‘โภชนาการที่ดีที่สุดของลูกรัก’ อยู่ที่แม่นั่นเอง เรามาติดตามกันสิว่า “นมแม่ดีต่อลูกอย่างไรกันบ้าง?” เตรียมพร้อมหาข้อมูลเรื่องนมแม่กันเนิ่นๆตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์นี่ล่ะค่ะ ✔ น้ำนมแม่ในช่วงแรก คือ หัวน้ำนม (colostrum) ที่มีสีเหลืองข้น อุดมด้วยสารอาหารจำเป็น ได้แก่ โปรตีน เกลือแร่ วิตามิน โดยเฉพาะ วิตามินเอและวิตามินเค สารช่วยการเจริญเติบโต และที่โดดเด่นที่สุด คือ หัวน้ำนมมีสารภูมิคุ้มกันในปริมาณที่สูงมาก เทียบได้กับวัคซีนหยดแรกที่มีคุณสมบัติ ป้องกันการติดเชื้อในลูกน้อยแรกเกิด ✔ นมแม่เป็นอาหารเพียงอย่างเดียว และดีที่สุดสำหรับลูกน้อย6เดือนแรก การได้รับอาหารอื่นอาจทำให้เกิดการติดเชื้อและภูมิแพ้ได้ง่าย เนื่องจากโครงสร้างของอวัยวะร่างกายลูกน้อยยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ โดยเฉพาะทางเดินอาหารมีน้ำย่อยยังไม่ครบ ทำให้มีปัญหาในการย่อยและการดูดซึมอาหาร ✔ ในระยะ 6 เดือนแรก เป็นช่วงที่สมองมีการเจริญเติบโตสูงสุด สารอาหารจากน้ำนมแม่ช่วยในการพัฒนาการเจริญเติบโตของสมองอย่างเต็มที่ในวัยนี้ ✔ นมแม่มีสารสร้างสมอง สารต้านมะเร็ง สารอาหารสำหรับจุลชีพดีที่อยู่แบบพึ่งพาในร่างกาย ✔ ถึงแม้แม่ขาดอาหาร น้ำนมแม่จะยังมีคุณภาพเสมอแม้ว่าแม่ขาดอาหาร โดยธรรมชาติร่างกายของแม่จะคงคุณค่าของน้ำนมไว้เพื่อลูก ยกเว้นแม่อยู่ในภาวะขาดอาหารรุนแรง ✔ กินนมแม่ช่วยให้ครอบครัวประหยัดค่าใช้จ่ายการซื้อนมผงปีละประมาณ 48,000 บาท หรือประมาณเดือนละ 4,000 บาท ต่อเด็ก1คน —เหตุผลที่ไม่ควรให้ลูกน้อยได้รับนมผงตั้งแต่แรกเกิด— ✔ ทำให้ลูกน้อยไม่ได้รับหัวน้ำนมจากแม่